จับตาประชุมอาเซียนซัมมิท หารือวาระร้อน เมียนมา-ทะเลจีนใต้

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา บรรดาผู้นำของชาติสมาชิกอาเซียน ได้ทยอยเดินทางถึงกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 43 ยกเว้นผู้แทนจากรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม

 จับตาประชุมอาเซียนซัมมิท หารือวาระร้อน เมียนมา-ทะเลจีนใต้

โดยการประชุมในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Asean Matters: Epicentrum of Growth หรือ อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญ ซึ่งผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมในปีนี้แทนนายกรัฐมนตรีคือ ศรัณย์ เจริญสุวรรณ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ข้อพิพาท "ทะเลจีนใต้" ปมขัดแย้งจีน-ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์โวยเรือจีนยิงเลเซอร์ขวางส่งเสบียงในทะเลจีนใต้

เมียนมา ปะทะเดือดผู้ลี้ภัยหนีเข้าไทยเกือบ 4 พันคน

ในช่วงพิธีเปิดการประชุม โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในฐานะเจ้าภาพได้ระบุในช่วงหนึ่งของสุนทรพจน์ว่าความท้าทายในอนาคตที่อาเซียนต้องเผชิญจะหนักขึ้น แต่อาเซียนจะไม่เป็นตัวแทนของมหาอำนาจฝ่ายใด และพร้อมจะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อสันติภาพและความรุ่งเรือง จากนั้นบรรดาผู้นำและผู้แทนของชาติสมาชิกอาเซียน ได้เปิดการประชุมใหญ่ร่วมกัน

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดในฐานะประธาน ได้กล่าวเปิดการประชุมใหญ่ โดยระบุว่า อาเซียนมีทิศทางที่ชัดเจนในการเป็นศูนย์กลางของการเติบโต แต่อาเซียนจำเป็นต้องมีเอกภาพและวางเป้าหมายระยะยาวเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย

สำหรับการประชุมใหญ่ร่วมกันประจำปีนี้มีวาระหลักอยู่ 3 ประเด็นคือ การผลักดันให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ และวิกฤตในเมียนมาที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปีเต็ม ทั้งนี้ ประเด็นวิกฤตเมียนมาถือเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด โดยเมื่อวานบรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียน ได้จัดการประชุมนอกรอบเพื่อหารือเกี่ยวกับฉันทามติ 5 ข้อที่ตกลงไว้กับรัฐบาลทหารเมียนมา

ฉันทามติ 5 ข้อเป็นวิธีการเพื่อหาทางออกจากวิกฤตความรุนแรงในเมียนมาที่ออกโดยที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนวาระพิเศษเมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 ที่ผ่านมาฉันทามติดังกล่าวครอบคลุมทั้งยุติความรุนแรงทันที จัดการเจรจาระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้ง เปิดทางให้มีการไกล่เกลี่ยโดยผู้แทนพิเศษอาเซียน ให้อาเซียนจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และให้ผู้แทนพิเศษอาเซียนเข้าพบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง

โดยในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่จัดขึ้นนอกรอบโมฮัมมัด มะฮ์ฟูด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานกิจการการเมือง กฎหมาย และความมั่นคงอินโดนีเซีย ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า ปัญหาในเมียนมาที่ไม่คืบหน้านั้นส่งผลเสียต่อประชาคมอาเซียน

ด้านเรตโน มาซูนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าปัญหาความขัดแย้งในเมียนมาจะเป็นบทพิสูจน์สำคัญว่าอาเซียนจะสร้างสันติภาพและความรุ่งเรืองในภูมิภาคได้สำเร็จหรือไม่

ขณะที่ แซมบรี บิน อับดุล คาดีร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ได้เรียกร้องให้อาเซียนดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวขึ้นกับกลุ่มผู้นำทหารที่ปกครองเมียนมา เนื่องจากอุปสรรคที่รัฐบาลทหารเมียนมาสร้างกำลังขัดขวางแผนสันติภาพสำหรับประเทศเมียนมาเอง โดยมาเลเซีย ตลอดจนชาติสมาชิกอื่นๆ ไม่สามารถปล่อยให้เรื่องนี้ดำเนินต่อไปแบบไม่มีจุดหมายได้

ขณะที่เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันหารือเรื่องฉันทามติ 5 ข้อดังกล่าว โดยประธานาธิบดีอินโดนีเซียระบุว่า อินโดนีเซียเห็นความเชื่อใจจากทุกฝ่าย ยกเว้นรัฐบาลทหารพม่า และจะยึดฉันทามติ 5 ข้อนี้เป็นแนวทางในการแก้ไขวิกฤตในเมียนมาต่อไป

วิกฤตในเมียนมาและการไม่ปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของรัฐบาลทหาร ถือเป็นโจทย์และปัญหาที่ใหญ่ของอาเซียนเนื่องจากตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารเมียนมาไม่สามารถบรรลุสัญญาที่เคยให้ไว้กับชาติสมาชิกอาเซียนได้นอกจากนี้ สถานการณ์ล่าสุดในเมียนมาเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ตามความขัดแย้งที่ลากยาวออกไปเรื่อยๆ หลังจากกลุ่มต่อต้านโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารอย่างหนัก

เมื่อวานนี้ สำนักข่าวอิรวดีของเมียนมารายงานว่า กลุ่มเฟเดอรัล วิงส์ (Federal Wings) ได้ใช้โดรน 2 ลำโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในศาลากลางจังหวัดและสถานีตำรวจภูธรเมืองเมียวดี ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐกะเหรี่ยงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา

โดยกลุ่มเฟเดอรัล วิงส์ รายงานว่า ผลจากการโจมตีทำให้ทหารจากสภาทหาร 5 นายเสียชีวิต และเจ้าหน้าคนอื่นๆ อีกกว่า 11 คนได้รับบาดเจ็บขณะเดียวกัน ทางกลุ่มเฟเดอรัล วิงส์ ก็ได้ขอร้องให้ประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากการโจมตีครั้งนี้ด้านทางการเมียนมายังไม่ได้โจมตีกลับ เบื้องต้นมีเพียงคำสั่งตัดไฟฟ้าเพื่อสังเกตการณ์โดรนที่อาจพยายามเข้ามาโจมตีอีกครั้ง

นอกจากเมียนมาแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่จะถูกนำมาหารือในที่ประชุมคือ ประเด็นข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับชาติสมาชิกอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และบรูไน ประเด็นข้อพิพาททะเลจีนใต้เป็นประเด็นที่จีนกับชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 4 ชาติมีปัญหากันอยู่เป็นระยะๆ

ประเด็นล่าสุดเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ที่มีการกระทบกระทั่งกันคือ ประเด็นการประกาศแผนที่มาตรฐานฉบับ ปี 2023 ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้นับพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้เป็นอาณาเขตของจีนนี่ทำให้มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และบรูไน ออกมาประท้วงและประณามการออกแผนที่ดังกล่าวอย่างหนักในช่วงไม่กี่วันก่อนการประชุมอาเซียนซัมมิทประจำปีนี้จะเปิดฉากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ การประชุมอาเซียนซัมมิทภายใต้การนำของอินโดนีเซียในฐานะประธานจึงได้บรรจุแนวทางต่างๆ และเตรียมให้ที่ประชุมอาเซียนรับรองในวันพุธที่ 6 กันยายนหรือวันพรุ่งนี้แนวทางดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งกระบวนการเจรจาจัดทำกำหนดระเบียบปฏิบัติที่มีผลผูกพันตามกฎหมายในกรณีพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้ หรือ Code of Conduct; CoC ให้เสร็จสิ้นภายในกรอบเวลา 3 ปี

Code of Conduct นี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้หรือ CoD ที่อาเซียนได้ทำร่วมกับจีนไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2002 และเป็นพื้นฐานในการจัดการปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนกับจีน หลักการ CoC และ CoD เป็นพื้นฐานให้ทุกฝ่ายไม่ทำกิจกรรมที่ยกระดับความขัดแย้งจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในพื้นที่ทะเลจีนใต้

นอกจากการเจรจาระหว่างผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนแล้ว ในการประชุมครั้งนี้ยังมีการประชุมที่เรียกว่า การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ East Asian Summit ซ้อนอยู่ด้วย ซึ่งจะเป็นการประชุมระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนและชาติคู่เจรจาอื่นๆ

การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยเป็นการประชุมระหว่างประเทศอาเซียน และออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐฯ สำหรับการประชุมนี้ หลายฝ่ายให้ความสนใจไปที่การพบกันของสหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ซึ่งถือเป็น 3 มหาอำนาจที่มีประเด็นการแข่งขันและความขัดแย้งกันอยู่ในขณะนี้ ในปีนี้โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ไม่ได้เดินทางมาร่วมการประชุมด้วยตนเอง แต่ได้ส่งกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีเข้าร่วมการประชุมแทนขณะที่จีนได้ส่งหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรี และรัสเซียได้ส่งเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้ ผู้นำสหรัฐฯ มีกำหนดเดินทางไปยังกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ในระหว่างวันที่ 7-10 กันยายนนี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอด G20 ในวันที่ 9 กันยายน และออกเดินทางต่อไปยังประเทศเวียดนามในวันที่ 10 กันยายน

อย่างไรก็ดี ทางการจีนได้ออกมายืนยันว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะไม่เดินทางไปร่วมประชุม G20 ด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้หลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีไปประชุมแทนประธานาธิบดีไบเดนได้ให้ความเห็นเมื่อวานนี้ว่า เขารู้สึกผิดหวังที่ผู้นำจีนไม่ได้เข้าประชุม G20 เพราะตัวเขาต้องการพบกับประธานาธิบดีของจีน

ส่วนวาระสำคัญในการประชุม G20 ที่กำลังจะเปิดฉากต่อจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ จะอยู่ที่เรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ประเด็นสงครามในยูเครน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ประกาศฉบับที่ 19 “ฝนตกหนักถึงหนักมาก” เตือน! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

วอลเลย์บอลหญิงไทย ชนะ เวียดนาม 3-1 เซต ลิ่วดวล ญี่ปุ่น ศึกชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023

“กรดยูริก” สะสมในเลือดสูงกระตุ้นโรคเกาต์ พบได้ที่ไหนบ้าง?

By admin

Related Post